เทคนิคการสัมภาษณ์งานด้าน Data
ในการสัมภาษณ์งานตำแหน่ง Data Scientist, Data Analyst หรือ ตำแหน่งงานในทีม Data อื่นๆ นอกจากความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ แล้ว เราสามารถเตรียมตัวก่อนเข้าสัมภาษณ์ได้ มี 3 สิ่งที่จำเป็นต้องรู้
1) รู้จักกับผู้สัมภาษณ์ (Know the interviewer) ควรทราบว่า Interviewer คือใคร มีผู้สัมภาษณ์กี่คน แต่ละคนมี Background เป็นอย่างไร
เราสามารถสอบถามชื่อผู้สัมภาษณ์จาก HR คนที่ทำหน้าที่นี้ เราเรียกว่า Talent Acquisition (TA) หรือ จาก Headhunter (กรณีที่เป็นการติดต่อจากบริษัทจัดหางาน) เมื่อทราบชื่อแล้ว เราสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Internet หรือ LinkedIn (ซึ่งเป็น Platform สำหรับคนทำงาน)
ผู้สัมภาษณ์ที่มี Background ทางด้านเทคนิค (Technical) หรือ บริหาร (Management) จะมีคำถาม หรือ ความคาดหวังในคำตอบที่แตกต่างกัน ทำให้เราเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสม
- Background ทางด้านเทคนิค เราสามารถเล่ารายละเอียดทางเทคนิคเชิงลึกเกี่ยวกับ Projects ที่เคยทำผ่านๆ มาได้ และอาจมีคำถามเชิงเทคนิคแบบลึกในช่วงการสัมภาษณ์
- Background ทางด้านบริหาร ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดทางเทคนิคเชิงลึก เน้นที่ความสำเร็จของงาน สามารถบริหาร Project ให้ราบรื่นได้อย่างไร มีอะไรเป็นอุปสรรคและวิธีหรือกลยุทธ์ที่เราใช้ในการฟันฝ่าอุปสรรคนั้น Project ที่เราทำนั้นสร้างรายได้หรือลดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทเท่าไร
2) รู้จักกับบริษัท (Know the company) ควรทราบว่าบริษัท ที่เรากำลังจะสัมภาษณ์ มีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไร เป็นบริษัทไทย หรือ International เรากำลังจะได้เข้าไปร่วมงานกับทีมไหน และมีความคาดหวังอย่างไรกับตำแหน่งที่กำลังจะสัมภาษณ์ มีเป้าหมายอย่างไร อาจดูได้จาก Job Description (JD) และสอบถามเพื่อยืนยันความเข้าใจของเรากับ HR หรือ Headhunter ว่าเข้าใจได้อย่างถูกต้องแล้ว ในบริษัทที่มีขนาดใหญ่มากๆ อาจมีทีม Data หลายทีม เช่น
- ทีม Data ที่อยู่ส่วนกลางเพื่อสนับสนุนทุกๆ Business Units (BUs)
- ทีม Data ที่อยู่กับ Business Unit โดยตรง
- ทีม CRM (Customer Relationship Management)
- ทีม Marketing & Sales
- ทีม Risk Management (บริหารจัดการความเสี่ยง)
จำเป็นต้องรู้ว่า เรากำลังจะไปสัมภาษณ์กับทีมไหน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวอย่างเหมาะสม
3) รู้ว่าต้องแนะนำตัวเองอย่างไร (Know yourself) แน่นอนว่าการสัมภาษณ์เกือบทั้งหมดมักเริ่มต้นด้วยการให้ผู้สัมภาษณ์แนะนำตัวเองให้ทุกคนได้รู้จักในเบื้องต้น เป็นสิ่งที่เราสามารถใช้โอกาสนี้ ในการเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา (รวมถึง First Jobber อาจเล่า Senior Project ที่ทำ หรือ Project อื่นๆ ที่ได้ลองทำนอกเวลา) อย่าคาดหวังว่าผู้สัมภาษณ์ทุกคนจะอ่าน Resume เราอย่างละเอียด (บ่อยครั้งผู้สัมภาษณ์เป็นผู้บริหารระดับสูง เพียงแค่ Screen Resume อย่างรวดเร็ว ไม่มีเวลามาลงรายละเอียดมากนัก) จำเป็นต้องเล่าให้อยู่ในรูปแบบของเรื่องราว (Storytelling) อาจอ้างอิงจาก Timeline จากล่าสุดไปยังอดีต สามารถยกตัวอย่าง Project ที่ทำแล้ว สำเร็จสร้าง Impact ให้กับบริษัท หรือ ทีมงาน ควรระบุด้วยว่าเราทำส่วนใดของ Project นั้น มี Contribution อย่างไร ระหว่างเล่าอาจสังเกตว่าผู้ฟังติดตามอย่างเข้าใจแล้วหรือไม่ (หากยังไม่ ให้ขยายความในสิ่งที่พูด)
หากมีประสบการณ์ในการทำงานหลาย Projects เราสามารถเลือก Project ที่เป็น Highlight หรือสอดคล้องกับทีมที่เราจะไปสัมภาษณ์ด้วย เช่น เราเคยทำ Data Science Model เพื่อช่วยในการเลือก Leads ในการเสนอ Offer ให้กับลูกค้าสำหรับ Campaign ต่างๆ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ CRM และ Marketing & Sales
สำหรับการแนะนำตัว ควรเตรียมการแนะนำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นไปได้ว่าผู้สัมภาษณ์ อาจวัดทักษะภาษาอังกฤษ จากการให้ทดลองแนะนำตัว
...
ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้กับผู้สัมภาษณ์ได้ถามคำถาม ซึ่งเราสามารถเตรียมคำถามเหล่านี้ก่อนได้ คำถามควรสื่อถึงความสนใจและการเตรียมความพร้อมที่เราจะร่วมงานกับบริษัทและทีม เช่น ถามเกี่ยวกับหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมายหากได้ร่วมงานกัน เครื่องมือหรือ Platform ในการทำงาน ที่เราสามารถไปเรียนรู้ก่อนหน้าได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์เพิ่มเติมได้
บางคำถามที่เสี่ยงต่อการลดความประทับใจกับผู้สัมภาษณ์ เราอาจถามจาก HR หรือ Headhunter แทน เช่น ตำแหน่งนี้สามารถ WFH ได้กี่วัน
ทั้งนี้ แต่ละข้อที่กล่าวถึงเป็นเทคนิคส่วนตัวของผู้เขียน และไม่มีถูกหรือผิด สามารถเลือกหรือปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ บริษัท หรือ ผู้สัมภาษณ์ที่เรากำลังคุยด้วย