5 เทคนิคในการทำ Data Visualization

5 เทคนิคในการทำ Data Visualization
By Leonardo.ai

1) รู้จักกลุ่มผู้ฟัง (Audience) 

การทำความเข้าใจกลุ่มผู้ฟังถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Data Visualization อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังได้ เช่น นักลงทุนเน้นที่ตัวชี้วัดทางการเงิน ในขณะที่ผู้จัดการให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ผู้เชี่ยวชาญอาจต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ในขณะที่ผู้ตัดสินใจต้องการสรุปข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ พิจารณาเลือกใช้สิ่งที่ผู้ฟังแต่ละกลุ่มชอบ เช่น บางคนชอบ Interactive dashboard บางคนชอบ Infographic หรือ Report ตัวอย่างเช่น ทีมการตลาดอาจใช้ Interactive Dashboard เพื่อติดตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพของCampaign แบบ Real time ในขณะที่ ทีมประชาสัมพันธ์อาจใช้ Infographic ในการนำเสนอเนื้อหาในสื่อต่างๆ ต้องแน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ พิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ทักษะด้านภาษาและความบกพร่องทางสายตา

2) เลือกกราฟที่เหมาะสม

 กราฟแต่ละประเภทมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน การเลือกกราฟให้เหมาะสมกับจุดประสงค์แต่ละอย่างจึงเป็นสิ่งสำคัญ

  • ใช้กราฟเส้นเพื่อแสดงแนวโน้มในช่วงเวลาต่างๆ (Time) จะใช้กราฟเส้นเพื่อแสดงแนวโน้มยอดขายในแต่ละปี
  • ใช้แผนภูมิแท่งเมื่อเปรียบเทียบหมวดหมู่ ระหว่างกลุ่มต่างๆ ตัวอย่างเช่น แผนภูมิแท่งสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพการขายระหว่างหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ในแต่ละสาขา
  • หลีกเลี่ยงการใช้แผนภูมิวงกลม เนื่องจากอ่านและเปรียบเทียบข้อมูลได้ยาก ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างส่วนต่างๆ ทำให้แยกแยะได้ยาก หากมีหมวดหมู่มากเกินไป แผนภูมิวงกลมก็จะดูไม่เป็นระเบียบ 

3) หลีกเลี่ยงกราฟที่ทำให้เข้าใจผิด

ในการทำ Data Visualization การเลือกกราฟผิด นำไปสู่การตีความข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 

  • จำเป็นต้องใช้มาตราส่วนที่ถูกต้องบนกราฟเพื่อแสดงข้อมูลตามความเป็นจริง
  • หลีกเลี่ยงการใช้แกนที่ถูกตัดออกหรือมาตราส่วนที่ไม่สม่ำเสมอ (Log) ซึ่งบิดเบือนจุดข้อมูล
  • ใส่ Label ทั้งหมดในภาพ หากขาดหายไปอาจทำให้ผู้ฟังสับสน
  • ใช้หน่วยที่สอดคล้องกันในทุกแกนเพื่อป้องกันความสับสน 
  • ไม่ควรใช้กราฟ 3 มิติ เนื่องจากบิดเบือนการรับรู้ข้อมูล เว้นแต่มิติที่สามจะให้ข้อมูลที่มีความหมาย
  • ระวังการใช้รูปร่าง (เช่น วงกลมหรือสี่เหลี่ยม) แทนปริมาณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าขนาดหรือพื้นที่ตรงกับค่าตัวเลขที่แสดง ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนสร้างกราฟ

4) ความง่าย

ในการทำ Data Visualization ควรยึดถือความเรียบง่ายเป็นหลักสำคัญ เพื่อความชัดเจนและประสิทธิผล

  • ภาพที่ชัดเจนและตรงไปตรงมาช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • ใช้ Label ที่กระชับซึ่งอธิบายแต่ละองค์ประกอบในภาพอย่างชัดเจน
  • หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิคที่อาจทำให้ผู้ฟังสับสน เลือกแบบอักษรที่อ่านง่าย
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อความมีขนาดใหญ่พอสำหรับการอ่านบนหน้าจอ
  • เน้นที่องค์ประกอบสำคัญที่ต้องการถ่ายทอด
  • ใช้ช่องว่างให้มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาสมดุลของภาพและหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลมากเกินไป
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการใช้รูปแบบสีที่สอดคล้องกันซึ่งช่วยส่งเสริมแทนที่ผู้ฟังจะละเลย

5) Storytelling

การเล่าเรื่องเริ่มต้นด้วยการสร้างกรอบเรื่องราว (narrative) เกี่ยวกับๆ ข้อมูลนั้น ระบุปัญหาหรือ Pain point ซึ่งนำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะแก้ไข ใช้แผนภูมิหรือกราฟเพื่อแสดงข้อมูลเชิงลึก (Insights) หรือ ตีความหมายผลลัพธ์ต่างๆ สรุปผลลัพธ์ที่ที่ได้

เช่น ร้านค้าปลีก วิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า เพื่อทราบว่าผลิตภัณฑ์ใดได้รับความนิยมสูงสุดและเหตุใดลูกค้าจึงชอบสินค้านั้น กราฟแสดงถึงยอดขายของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในแต่ละสาขา แสดงให้เห็นแนวโน้มและรูปแบบการซื้อของลูกค้าในปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุดและความแตกต่างของของการซื้อของลูกค้าในแต่ละสาขา


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.kdnuggets.com/5-tips-for-effective-data-visualization